เรียกได้ว่าสร้างปรากฏการณ์สำหรับภาพยนตร์ไทยอีกหนึ่งเรื่องที่เป็นที่พูดถึงในโลกโซเชียลกันอย่างหนาหูกับเรื่อง ‘วิมานหนาม’ การฟาดฟันของบทบาทจากเหล่านักแสดงนำอย่าง เจฟ ซาเตอร์ และ อิงฟ้า วราหะ ที่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของทั้งคู่ ร่วมด้วยเหล่านักแสดงมากความสามารถอย่าง แม่สีดา, เก่ง หฤษฎ์, เต้ย พงศกร ซึ่งนี้ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่นา่จับตาของผู้กำกับมากความสามารถอย่าง บอส กูโน และ วัน วรรณฤดี โปรดิวเซอร์มือทอง
นอกจากเรื่องราวที่มีความเข้มข้นและเสียดสีความเท่าเทียมของสังคมแล้ว ‘วิมานหนาม’ ยังมีฉากสำคัญๆ ที่เชื่อมโยงกับความเป็นอยู่และวัฒนธรรมของชาวเหนือที่โดดเด่นและน่าสนใจอย่าง ปอยส่างลอง หรือ งานบวชลูกแก้ว ที่เราจะได้เห็นจากภาพที่ก่อนหน้านี้ถูกปล่อยของหนุ่มเจฟ ซาเตอร์ วันนี้บาซาร์พาไปเจาะเรื่องราวของงานบวชลูกแก้ว หรือ ปอยส่างลอง ว่าคืออะไร
ปอยส่างลอง หรือ การบวชลูกแก้ว
เป็นงานประเพณีของชาวไตหรือไทใหญ่ คำว่าปอย แปลว่า งาน ซึ่งหมายถึงงานเทศกาล งานมงคลต่าง ๆ ส่วนคำว่า ส่าง แปลว่า พระหรือเณร และคำว่า ลอง นั้นมาจากคำว่า อะลอง แปลว่า กษัตริย์ เมื่อนำมารวมกันจึงหมายถึง งานบวชเณรของเด็กที่แต่งตัวอย่างกษัตริย์ ถือเป็นงานบุญใหญ่ที่จะจัดขึ้นในทุกๆปี ที่มีความสำคัญและเป็นเอกลักษณ์ของชาวเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงในภาคเหนือของประเทศไทย
ความหมายของชื่อ “บวชแก้ว”
- ชื่อ “บวชแก้ว” มาจากการที่พระภิกษุที่บวชในพิธีนี้จะใช้ “แก้ว” หรือ “คริสตัล” ซึ่งหมายถึงความบริสุทธิ์และการสะสมบุญเพื่อสะท้อนถึงการปฏิบัติธรรมและการบรรลุเป้าหมายทางจิตใจ
พิธีการบวช
การบวชแก้วมักจะมีการบวชในระยะเวลาสั้น เช่น 7 วัน 15 วัน หรือ 1 เดือน ไม่เหมือนกับการบวชแบบยาวนานที่ใช้เวลาเป็นปีหรือตลอดชีวิต
การบวชแก้วมักจะมีพิธีการที่ละเอียดและมีการจัดเตรียมพิธีที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งอาจรวมถึงการบรรยายธรรม การสวดมนต์ การฝึกปฏิบัติธรรม และการทำกิจกรรมทางศาสนาอื่นๆ
ซึ่งถ้าเราเห็นจากภาพโปรโมทของภาพยนตร์หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าทำไมหนุ่มเจฟ ซาเตอร์ ต้องแต่งหน้าในพิธีบวชลูกแก้วด้วย โดยชาวเหนือเชื่อว่า การแต่งหน้าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความสวยงามและความเป็นศิริมงคลในพิธีการบวช เพื่อให้พระภิกษุที่บวชมีความงามและดูเป็นทางการ ซึ่งแสดงถึงการเคารพต่อพิธีและพระธรรม นอกจากนี้การแต่งหน้าในพิธีบวชแก้วเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีและวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ช่วยรักษาความเป็นเอกลักษณ์ของพิธีและวัฒนธรรมของชาวเหนือ